วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยี Cloud Computing

Cloud Computing คือวิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้อง การผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากร รวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็น เช่นไร
ผมได้นิยามคำว่า Cloud Computing ในรูปแบบที่ (น่าจะ) เข้าใจง่ายขึ้นที่ นิยามคำว่า Cloud Computing ภาค 2 สำหรับท่านที่กำลังค้นหาหัวข้อวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ Cloud Computing สามารถไปอ่านบทความของผมได้ในหัวข้อชื่อ หมวดงานวิจัยเกี่ยวกับ Cloud Computing
รายละเอียดของนิยามมีอีกครับ เข้ามาติดตามได้เลย
ผมขอนิยามความหมายของคำหลักๆ 3 คำที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing ต่อไปนี้
ความต้องการ (Requirement) คือโจทย์ปัญหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ไขปัญหาหรือตอบปัญหาตาม ที่ผู้ใช้กำหนดได้ ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาด 1,000,000 GB, ความต้องการประมวลผลโปรแกรมแบบขนานเพื่อค้นหายารักษาโรคไข้หวัดนกให้ได้สูตร ยาภายใน 90 วัน, ความต้องการโปรแกรมและพลังการประมวลผลสำหรับสร้างภาพยนต์แอนนิเมชันความยาว 2 ชั่วโมงให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน, และความต้องการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและโปรแกรมทัวร์ในประเทศอิตาลีในราคา ที่ถูกที่สุดในโลกแต่ปลอดภัยในการเดินทางด้วย เป็นต้น
ทรัพยากร (Resource) หมายถึง ปัจจัยหรือสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหรือเกี่ยวข้องกับการแก้ไข ปัญหาตามโจทย์ที่ความต้องการของผู้ใช้ได้ระบุไว้ อาทิเช่น CPU, Memory (เช่น RAM), Storage (เช่น harddisk), Database, Information, Data, Network, Application Software, Remote Sensor เป็นต้น
บริการ (Service) ถือว่าเป็นทรัพยากร และในทางกลับกันก็สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรก็คือบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านCloud Computingแล้ว เราจะใช้คำว่าบริการแทนคำว่าทรัพยากร คำว่าบริการหมายถึงการกระทำ (operation) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองต่อความต้องการ (requirement) แต่การกระทำของบริการจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากร โดยการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดผลลัพธ์สนองต่อความต้อง การ
สำหรับCloud Computingแล้ว ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่าระบบเบื้องล่างทำงานอย่างไร ประกอบไปด้วยทรัพยากร(resource) อะไรบ้าง ผู้ใช้แค่ระบุความต้องการ(requirement) จากนั้นบริการ(service)ก็เพียงให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ ส่วนบริการจะไปจัดการกับทรัพยากรอย่างไรนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจ สรุปได้ว่า ผู้ใช้มองเห็นเพียงบริการซึ่งทำหน้าที่เสมือนซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามโจทย์ของ ผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับทราบถึงทรัพยากรที่แท้จริงว่ามีอะไรบ้างและถูก จัดการเช่นไร หรือไม่จำเป็นต้องทราบว่าทรัพยากรเหล่านั้นอยู่ที่ไหน

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ระบบ DLNA

คำว่า DLNA  ย่อมาจากคำว่า  Digital Living Network Alliance โดยหลักการที่น่าจะพอมองเห็นภาพง่ายๆก็คือ การทำให้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ใดๆที่สามารถเชื่อต่อกับอินเตอร์เน็ท และรองรับระบบ DLNA ได้นั้น สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ Notebook โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ เครื่องเล่น บลูเรย์  หรือแม้แต่ AVRที่มีระบบ network ที่น้าๆใช้ดูหนังกันอยู่นี่ล่ะครับ โดยสามารถทำให้เชื่อมต่อถึงกันได้ทั้งหมด หากต้องการจะดึงรูป เล่นเพลง หรือวีดีโอจากมือถือไปแสดงผลบนจอโทรทัศน์ ก็สามารถทำการแชร์ได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องต่อสายให้ยุ่งยาก 

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ICT กับชุมชนเสมือนจริง ความท้าทายในโลกอนาคต

กระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคโลกาภิวัตน์ได้มีความเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งในยุคปัจจุบันถือว่าเป็นองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกคน อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น รวมทั้งเทคโนโลยีอื่นๆที่ทันสมัยได้เข้ามามีบทบาทและส่งผลกระทบต่อผู้คนในยุคปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่สำคัญทำอย่างไรจะให้ผู้คนมีกระบวนการปรับตัวและมีแผนรองรับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างไร้ขีดจำกัดในปัจจุบันอย่างรู้เท่าทันและมีภูมิคุ้มกันที่ดี
วันที 30 ตุลาคม 2552 ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมระดมความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญระดับสูง(High-level Expert Roundtable) ชุดที่ เรื่อง อนาคตประเทศไทยในปี 2020 : นัยต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT2020) กลุ่มการเมือง/ การปกครอง/การบริหารราชการแผ่นดิน ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ ที่ได้จัดขึ้นโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเป็นแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556
ในสถานที่ประชุมระดมความคิดเห็นนั้น ได้มีนักวิชาการ นักการเมืองท้องถิ่น ข้าราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้าร่วมประชุมหลายท่าน ในที่ประชุมได้มีการนำเสนอภาพรวมของโครงการและภาพอนาคตเบื้องต้น โดย ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติและหัวหน้าโครงการจัดทำกรอบนโยบาย ICT2020 ได้นำเสนอถึงภาพรวมประเด็นเกี่ยวกับกรอบนโยบาย “อนาคตประเทศไทยในปี 2020 : นัยต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT2020)” ว่าควรมีทิศทางเป็นอย่างไรในอีก 10 ปีข้างหน้า
นอกจากนั้น ยังมีการอภิปรายจุดประกายความคิด โดยนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นายอาวุธ วรรณวงศ์ จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(กพร.) ดร. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายณฐพล วิเชียรเพริศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นายพฤกษ์ พัฒโน รองนายกเทศมนตรี เทศบาลนครหาดใหญ่ เป็นผู้อภิปราย ซึ่งแต่ละท่านได้เสนอมุมมองของICT เชื่อมโยงกับการเมือง การปกครอง และการบริหารราชการแผ่นดิน ไว้หลากหลายประเด็นที่น่าสนใจ โดยมี ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาโครงการและที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นผู้ดำเนินการอภิปาย รวมทั้งการนำเสนอความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมในประเด็นที่เกี่ยวข้องอีกหลายท่าน
ประเด็นการประชุมโดยสรุปแล้ว กระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่เชื่อมโยงกับการเมืองการปกครองไทยและการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งในยุคปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างหลากหลายช่องทาง เช่น หน่วยงานราชการ ได้มีการพัฒนาเว็บไซด์ที่เป็นของหน่วยงาน รวมทั้งการบริการประชาชนให้มีความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง และที่สำคัญทำอย่างไรให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐ รวมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาในด้านต่างๆ ซึ่งดร. พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์ ได้เปิดประเด็นไว้อย่างน่าสนใจเกี่ยวกับกระบวนการทำแผนแม่บท ของ ICT ว่า แผนนั้นควรมีหมุดหมายที่ชัดเจนว่า ทิศทางของการนำแผนไปปฏิบัติหรือจุดมุ่งหมายนั้นเป็นอย่างไร นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึง กระบวนการที่เรียกว่า สาธารณะ(Public) ประชาสังคม (civil society) รวมทั้งความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และการเสริมพลังอำนาจของประชาชน (Empowerment) และควรมีการออกแบบเชิงสถาบันที่รองรับเกี่ยวกับการพัฒนาICTและการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างชัดเจน
และอีกหลายท่านได้เสนอมุมมองที่เป็นประสบการณ์รวมทั้งข้อเสนอแนะไว้หลากหลายประเด็นเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน เรื่อง E-Governance  และประเด็นเกี่ยวกับท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะต้องมีการรองรับการถ่ายโอนภารกิจจากส่วนกลาง เนื่องจากมีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กระบวนการนำIT มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชน และการเมืองท้องถิ่น รวมทั้งประเด็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งซึ่ง รศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร จากมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย ได้นำกรณีเกี่ยวกับการเลือกตั้งของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประเทศญี่ปุ่นได้นำระบบการเลือกตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้
ผู้เขียนในฐานะนักวิชาการอิสระที่ได้รับเกียรติเข้าร่วมประชุมระดมความคิดเห็นมีความเห็นด้วยกับแนวคิดและข้อเสนอแนะจากหลายๆท่านที่ได้นำเสนอในที่ประชุม ในที่นี้ผู้เขียนขอนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา ICT ทางด้านการเมือง การปกครอง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้เขียนใคร่ที่จะนำเสนอประเด็นที่นอกเหนือจากผู้เข้าร่วมประชุมเสนอไว้ ดังต่อไปนี้ คือ
ประเด็นเกี่ยวกับ การพัฒนาICT ของภาคประชาชน หรือภาคประชาสังคม การพัฒนาประชาธิปไตยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง การปกครองไทย ปัจจุบัน ระบบสารสนเทศหรือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เช่น อินเตอร์เน็ต เว็บไซด์ การสื่อสารที่ทันสมัยผ่านระบบมือถือ หรือระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ประเด็นที่ผู้เข้าร่วมประชุมได้นำเสนอส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การใช้เทคโนโลยีของภาครัฐE-Governace ซึ่งได้เห็นมุมมองการบริหารงานของภาครัฐและการพัฒนา IT ของภาครัฐเพื่อบริการประชาชน และบางท่านได้นำเสนอเกี่ยวกับ ICT ชุมชนซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย
ประเด็นเกี่ยวกับ ICT ที่เป็นของภาคประชาชน  (PO) หรือภาคประชาสังคม และองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ (NGO) ที่ได้มีการเปิดพื้นที่สาธารณะทางด้านการเสนอความคิดและการพัฒนาประเทศ รวมทั้งกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจของภาครัฐ ซึ่งถือว่าเป็นพลังที่สำคัญในการช่วยให้การพัฒนาประชาธิปไตยและการบริหารภาครัฐได้มีการยึดหลักการบริหารจัดการที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล ซึ่งผู้เขียนได้เข้าไปค้นหาเว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรภาคประชาชน ภาคประชาสังคม รวมทั้งกลุ่มองค์กรชุมชน และภาคองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ได้จัดทำเป็นเว็บไซด์ ซึ่งถือว่าเป็นเว็บทางเลือกของภาคประชาชน ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตย รวมทั้งการเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ มีหลายเว็บไซด์ที่ได้มีข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อภาคประชาชน ซึ่งนอกเหนือจากเว็บไซด์ของรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐที่ให้ข้อมูลข่าวสาร และนโยบายการพัฒนาประเทศ รวมทั้งเว็บไซด์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งบางแห่งได้มีการจัดทำอย่างเป็นระบบและสามารถให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวก ซึ่งถือเป็นการบริหารตามหลักความโปร่งใสและเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเป็นหลัก ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)มาเป็นเครื่องมือหลักในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลชุมชน ข้อมูลข่าวสารของ อปท. ทั้งข้อมูลด้านการบริหาร ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมาย ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนา ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง และการให้ประชาชนร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องทุจริตผ่านทางช่องทางอินเตอร์เน็ตหรือเว็บไซด์ของ อปท. เป็นต้น
ภาพของกระบวนการพัฒนา IT ของท้องถิ่นในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า ถ้าหากว่า ICT ได้มีแผนแม่บทที่ชัดเจนในการพัฒนารวมทั้งกระบวนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งสนับสนุนด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพและวางระบบฐานข้อมูลที่มีความถูกต้อง รวมทั้งกระบวนการประสานความร่วมมือกับองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำระบบฐานข้อมูลท้องถิ่น รวมทั้งวัฒนธรรมท้องถิ่น อย่างเป็นระบบแล้ว กระบวนการพัฒนาท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการใช้ IT มาเป็นเครื่องมือ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชน ภาคประชาสังคมให้เข้ามามีส่วนร่วมทั้งการพัฒนาและมีส่วนร่วมในการตรวจสอบอย่างสร้างสรรค์แล้ว จะทำให้แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นที่มีหลักธรรมาภิบาลในการบริหารและการพัฒนา และที่สำคัญคือ ประโยชน์จะตกอยู่ที่ประชาชนในท้องถิ่น
กระบวนการพัฒนาชุมชนเสมือนจริง (Virtual Community) ในโลกอนาคตอีก 10-20 ปี ข้างหน้า ผู้เขียนมีมุมมองว่า ควรมีการพัฒนาเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นฐานที่สำคัญในอนาคตให้มีความรู้ ความเข้าใจรวมทั้งการรู้เท่าทันเทคโนโลยีที่ทันสมัย และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างถูกต้อง มิใช่เพียงเพื่อตอบสนองความบันเทิง ความสนุกสนานเท่านั้น แต่ควรเป็นการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต เว็บไซด์ อย่างถูกต้อง
นอกจากนั้นประเด็นเกี่ยวกับความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่ออินเตอร์เน็ต หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่และ กระบวนการคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน อัตลักษณ์ และวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยภาพรวมแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศเปรียบเสมือนเป็นดาบสองคม ที่มีทั้งคุณและโทษในตัวของมันเอง แต่ทำอย่างไรจะให้มีการนำด้านคุณประโยชน์จากเทคโนโลยีมาใช้ให้มากที่สุด โดยสรุปก็คือ ในโลกอนาคตอีก 10-20 ปีข้างหน้าเทคโนโลยีสารสนเทศมีความทันสมัยมากขึ้นและประเด็นที่สำคัญคือทำอย่างไรจะให้ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ได้มีแผนรองรับการพัฒนาทางด้าน IT ที่เป็นรูปธรรม เช่น การเสริมสร้างความรู้แก่เด็กและเยาวชนในการรู้เท่าทันเทคโนโลยี กระบวนการพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน รวมทั้งมีกลไกและมาตรการที่รองรับทั้งทางด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิส่วนบุคคลและมาตรการทางด้านกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน  และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยในอนาคต

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

  เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต คงจะเคยเห็นตัวเลขแปลกๆ เช่น 127.0.0.1 หรือ 192.168.1.1 หรือจำนวนอื่นๆ ตัวเลขเหล่านี้คืออะไรกัน
ตัวเลขเหล่านี้คือหมายเลข IP ประจำเครื่องครับ โดย IP ก็ย่อมาจากคำว่า Internet Protocol หน้าที่ของเจ้าเลขพวกนี้ก็คือ เป็นหลายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่าย เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ในกรณีที่เราเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องก็จะมีเลขหมายหรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อบอกว่าถ้าจะ ติดต่อเครื่องนี้ให้โทรมาที่เบอร์นี้นะ เช่นเดียวกันครับ คอมพิวเตอร์ก็มีเลขหมายหรือพูดง่ายก็คือชื่อมันนั่นเอง เพือให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ บนระบบเครือข่ายรู้จักกัน
จากหมายเลข IP ที่ยกตัวอย่างไปด้านบน เราเรียกว่า IPv4 ครับ โดยจะเป็นหมายเลขที่มีทั้งหมด 32 บิต (แต่ละช่วงเว้นวรรคด้วย . ) แบ่งเป็นช่วงละ 8 บิต โดยตัวเลข 8 นี้ก็จะมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 ครับ ดังนั้น IPv4 จึงมีหมายเลขได้ตั่งแต่ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 แต่ก็ใช่ว่าทุกตัวจะใช้ได้หมดนะครับ เพราะจะมีบางหมายเลขที่ถูกเก็บไว้ใช้งานเฉพาะ
IPv4 ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น Class ชนิดต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกันไป ดังนี้ครับ
  1. คลาส A เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.1 ถึง 127.255.255.254
  2. คลาส B เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.1 ถึง 191.255.255.254
  3. คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.0.1.1 ถึง 223.255.254.254
  4. คลาส D เริ่มตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 ใช้สำหรับงาน multicast
  5. คลาส E เริ่มตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 255.255.255.254 ถูกสำรองไว้ ยังไม่มีการใช้งาน
สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ใช้สำหรับการทดสอบระบบ
แต่หมายเลข IP ด้านบนนี้ก็ยังถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทคือ IP ส่วนตัว (Private IP) และ IP สาธารณะ (Publish IP)
โดย IP ส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ได้แก่
  1. ไอพีส่วนตัว คลาส A เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป
  2. ไอพีส่วนตัว คลาส B เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป
  3. ไอพีส่วนตัว คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป
ไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือข่ายสาธารณะ (Internet)
ส่วน IP สาธารณะมีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กร หรือแต่ละบุคคลใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าหากัน
จากช่วงของ IPv4 ตั้งแต่ 1.1.1.1 ถึง 255.255.255.255 ถ้าคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องใช้หนึ่งหมายเลข เช่น เครื่องผมใช้ 1.1.1.1 เครื่องที่สองใช้ 1.1.1.2 เราก็จะประมาณได้ว่าเราจะมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่ในระบบเครือข่ายได้ ทั้งหมดประมาณ 232 เครื่องครับ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมาก แต่ก็ยังเยอะไม่พอ เพราะว่า IPv4 ที่แจกจ่ายให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกได้กำลังจะหมดลงไปแล้ว
แล้วเราจะทำอย่างไรดี ถ้าเราซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาแล้วไม่มี IP ให้เราใช้ล่ะ วิธีการที่นักคอมพิวเตอร์แก้ไขก็คือการกำหนดหมายเลข IP ใหม่ขึ้นมาครับ โดย IP ใหม่นี้ถูกเรียกว่า IPv6 (Internet Protocol version 6) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน IP โดย IPv6 นี้ใช้ระบบเลข 128 บิต ดังนั้นจึงมีจำนวน IP ได้มากสุดถึง 2128 หมายเลขครับ เยอะมากที่จะพอให้มนุษย์บนโลกนี้ใช้ได้ไปอีกนานเลยทีเดียว
ตัวอย่าง IPv6 ก็จะกำหนดในลักษณะดังนี้ครับ 2001:0db8:85a3:0000:0000:8a2e:0370:7334